WK3 G1 : การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
การประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
การประเมินตามสภาพจริงสามารถวัดความสามารถของผู้เรียนได้ โดยการประเมินตามสภาพจริงนั้นเป็นการตัดสิ้นความรู้ความสามารถและทักษะต่างๆ ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับชีวิตจริง จะเป็นงานหรือสถานการณ์ที่เป็นจริง หรืออาจใกล้เคียงกับชีวิตจริง โดยในการประเมินนักเรียนตามสภาพจริงนั้นจะมีการพิจารณาจากงานหลายๆ ชิ้น โดยการให้คะแนนนั้นจะมีการกำหนดเกณฑ์ไว้แล้ว
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment Toolbox)
ในการประเมินตามสภาพจริงนั้น มีเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินอยู่หลายประเภท รวมถึงยังมีการใช้เกณฑ์การให้คะแนน (Rubric) ด้วย เครื่องมือที่ใช้โดยทั่วไปในการประเมินตามสภาพจริง ได้แก่
1. แบบทดสอบ
2. การสอบถาม (ที่เป็นคำถามโดยให้นักเรียนได้ใช้ความรู้มาประยุกต์ หรืออาจเป็นคำถามปลายเปิด)
3. การสัมภาษณ์
4. การทำแบบฝึกหัด
5. การบันทึกสะท้อนผลงาน
6. การทำชิ้นงาน หรือ โครงงาน
7. การอภิปราย
8. แผนผังความคิด
9. การประเมินตนเอง
10. การทำแฟ้มสะสมงาน
ในการให้คะแนนนั้นจะต้องกำหนดเกณฑ์ (Rubric) หรือระดับคะแนนที่จะใช้ในการประเมินผลงานของนักเรียน ตามปกติแล้วการประเมินตามสภาพจริงจะมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ ซึ่งวัดจากงานที่นักเรียนทำตามความถนัด ตามประสบการณ์
ในการจัดทำเกณฑ์นั้นจะมีการกำหนดลักษณะของเฉพาะของงานไว้ทางด้านซ้าย (คอลัมน์ซ้าย) และด้านขวาจะเป็นการกำหนดระดับคะแนน โดยจัดทำสงในตาราง
การจัดระดับในการให้คะแนน ไม่จำเป็นจะต้องเป็นตัวเลขเสมอไป ขึ้นอยู่กับงานและความต้องการ ในการกำหนดระดับนั้นจะกำหนดแค่ 2 ระดับก็ได้ หรือจะมีหลายๆ ระดับก็ได้เท่าที่คิดว่าเหมาะสม ถ้ากำหนดเป็นระดับแบบตัวเลข เช่น ระดับตัวเลข 5 – 4 – 3 – 2 – 1 เป็นต้น หรือถ้าเป็นการกำหนดแบบไม่เป็นตัวเลข เช่น ไม่เคย – ไม่ค่อย – บางครั้ง – มักจะ – เสมอ เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง : http://jfmueller.faculty.noctrl.edu/toolbox/index.htm
No comments:
Post a Comment